วันอาทิตย์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 11


วัน จันทร์ ที่ 7 พฤศจิกายน พศ.2559
( เวลา 08:30-12:30 น.)

เนื้อที่เรียน

1.  อาจารย์ให้นักศึกษานำเสนอสิ่งประดิษฐ์ของตนเอง 
มีทั้ง - โพโลโมแกรมภาพ 3 มิติ  - เตาอบป๊อบคอร์น - รถเคลื่อนด้วยยาง - เตาปิ้ง - โคมไฟจากช้อนพลาสติก - ที่ล้างจานจากลัง - เตาแก๊ส - หมวกจากกล่องนม - เครื่องคิดเงิน - ถังขยะจากขวดน้ำ - บัวรดน้ำ - กระเป๋าดินสอจากขวด - โต๊ะญี่ปุ่น - ชั้นวางของ - กระเป๋าจากกล่อง - เกมผูกเชือกรองเท้า - พรมเช็ดเท้า - ฝาชี - ตู้เย็น - เคสมือภือ 



2. อาจารย์ให้คิดโจทย์จากของที่เราทำมาและคำตอบเช่นกัน 
- หากผู้ยุ่งเราจะทำอย่างไรที่สามารถเก็บผมได้ 
3. อาจารย์ให้รวมกลุ่มทำงานตัวเลขที่เคยทำค้างไว้ เลข 0-9 หรือ 0-10 



การนำไปประยุกต์ใช้ 

- สามารถนำสื่อตัวนี้ไปสอนเด็กได้
- ในอนาคตหากเราหากของหรือไปซื้อไม่ทันสามารถนำของเหลือใช้มาใช้ได้

การประเมิน 

ประเมินตัวเอง  มีการช่วยเพื่อนและจดบันทึก
ประเมินบรรยาอากาศในห้องเรียน  การทำงานกลุ่มทำให้รู้จักนิสัยคนมากมายทำให้รู้ว่างานกลุ่มทำให้เรามีทั้งเพื่อนและเราเสียเพื่อนเพราะ บางคนเลือกที่จะช่วยกันทำงานเต็มที่แต่บางคนเลือกที่จะเอาเปรียบเพื่อนเต็มที่เช่นกัน....
ประเมินผู้สอน  อาจารย์สอนสนุก เป็นกันเอง


วันอังคารที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 10


วัน จันทร์ ที่ 31 ตุลาคม พศ. 2559 
( เวลา 08:30-12:30 น.)


เนื้อหาที่เรียน 

- บรูณาการในแต่ละครั้งไม่ได้บรูณาการแค่วิชาอย่างใดวิชาเดียวเพราะ เป้าหมายการจัดกิจกรรม คือ เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ให้เด็กเกิดการพัฒนาทั้ง 4 ด้าน ( ร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคม สติปัญญา)
 หลักการออกแบบกิจกรรม
  - ออกแบบให้เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก
  - ออกแบบให้รู้ถึงวิธีการเรียนรู้ของเด็กแต่ละคน
-  เด็กมีพัฒนาการที่เชื่องโยงทั้ง 4 ด้าน <<< กิจกรรมบรูณาการ >>> เพื่อให้เด็กเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทั้ง 4 ด้าน
- จากนั้นอาจารย์ให้แต่ละกลุ่ม ประดิษฐ์สิ่งของจากสิ่งที่จะได้ต่อไปนี้ ขวดน้ำ กระป๋อง กล่อง 
ซึ่งของห้ามซ้ำกันทั้งห้อง ฉันได้กระป๋อง 

โดยทำ ที่คาดผมจากฝาเปิดกระป๋อง 

การนำไปประยุกต์ใช้

- สามารถสอนเด็กประดิษฐ์สิ่งของจากวัสดุเหลือใช้ได้

การประเมิน 

ประเมินตัวเอง  มีการจดบันทึกแต่...ลืมถ่ายรูป
ประเมินบรรยากาศในห้องเรียน  สนุกสนานมีการช่วยกนคิดกันหาข้อมูล
ประเมินผู้สอน คอยแนะนำสิ่งต่างๆให้แก่นักศึกษา
 




บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 9


วัน จันทร์ ที่ 24 ตุลาคม พศ.2559
( เวลา 08:30-12:30 น.)



*** งดการเรียนการสอนเนื่องจากเป็นวันหยุดชดเชยปิยมหาราช ***


บันทึกการเรียนครั้งรู้ที่ 8


วัน จันทร์ ที่ 17 ตุลาคม พศ.2559
( เวลา 08:30-12:30 น.)


เนื้อหาที่เรียน 


ปัจจัยที่ทำให้เด็กเกิดความคิดสร้างสรรค์ได้คือ ครู

- อาจารย์เริ่มทบทวนบทเรียนเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว และพูดถึงความคิดสร้างสรรค์
การเรียนรู้ของเด็ก เท่ากับ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม  
" เด็กซน คือ เด็กฉลาดเพราะมีกาเรียนรู้ต่างๆเพื่อเก็บประสบการณ์"  และครูคือผู้อำนวยความสะดวกในการเสริมสร้างประสบการณ์ให้แก่เด็ก
- จากนั้นอาจารย์แจกกระดาษ A4 คนละ 1 แผ่น และให้จับกลุ่มกลุ่มละ 10 คนแต่ละคนแต่ละตัวเลขจะมี เลข 0-9 ซึ่งบางกลุ่มจะมี 0-10  ซึ่งฉันได้เลข 8 จากนั้น อาจารย์ให้นำเลขของแต่ละคนออกแบบเป็นอะไรก็ได้ตามใจเรา 

นาฬิกาทราย

จากนั้นให้แต่ละกลุ่มคิดว่าจะทำอะไรกับตัวเลขของแต่ละกลุ่มดี เช่น แต่งนิทาน เล่นเกม การจับคู่และจะให้เด็กมีส่วนร่วมอย่างไร 
ซึ่งกลุ่มฉันทำ การนับ เช่น เลข 4  ก็ให้เด็กนำไม้ไอศกรีมจำนวน 4 ไม้ มาต่อเป็นรูปสี่เหลี่ยมและมีเฉลย 

จากนั้นอาจารย์ให้ตัดตัวเลขลงกระดาษ100 ปอนด์ เพื่อรอทำงานที่คิดข้างต้น

การนำไปประยุกต์ 

- นอกจากตัวเลขแล้วเรายังสามารถใช้รูปเลขาคณิตได้ด้วย 

การประเมิน 


ประเมินตัวเอง ควรฝึกวาดรูปเยอะๆและควรวาดให้ดูออกด้วย
ประเมินบรรยากาศในห้องเรียน แอร์เย็น กิจกรรมวันนี้สนกมาก
ประเมินผู้สอน อาจารย์มีการช่วยแก้ปัญหาระดมความคิดกับนักศึกษา








บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 7


วัน จันทร์ ที่ 10  ตุลาคม พศ.2559
(เวลา 08:30-11:30 น.)

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ กรอบ ภาพ ตกแต่ง รายงาน

เนื้อหาที่เรียน

ในวันนี้อาจารย์มีการจัดกิจกรรมออกเป็น 4 ด้าน ได้แก่
 1. เชือกไต่ ซึ่งจะให้นักศึกษาวาดรูปสัตว์ลงกระดาษวงกลมที่อาจารย์เตรียมให้แล้วนำตัดกับแกนกระดาษจากนั้นก็ร้อยเชือกเพื่อเป็นบันได

2. ผีเสื้อ จะเป็นการที่เอาสีน้ำทาบนมือทั้งสองข้างแล้วนำไปติดกับกระดาษ A4 จะได้รูปผีเสื้อออกมาแล้วตกแต่งได้ตามใจชอบ
Cr. นางสาววิไลวรรณ สุขทวี 


3. การทำสิ่งประดิษฐ์จากจานกระดาษที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ ซึ่งฉันทำเครื่องร่อนวงแหวน

Cr. google
4. การเป่าสี โดยใช้หลอดเป่าสี ตามจินตนาการ

Cr. นางสาววิไลวรรณ สุขทวี
จากนั้นอาจารย์ให้นำเสนอผลงานของแต่ละคน พร้อมทั้งสรุปกิจกรรม


การนำไปประยุกต์ใช้ 

- นำมาประยุกต์กับ STEM&STEAM ได้ 
- ทำให้รู้ว่ากิจกรรมทุกอย่างสร้างได้ด้วยจินตนาการของเราเอง
 

การประเมิน

ประเมินตัวเอง ตั้งใจทำกิจกรรมแต่ยังทำได้ช้าอยู่และควรรอบคอบในการบันทึกรูปภาพมากกว่านี้
ประเมินบรรยากาศในห้องเรียน สนุกสนานเต็มอิ่มได้ทั้งเสียงหัวเราะและความรู้
ประเมินผู้สอน  ขอบคุณคะที่นำกิจกรรมดีๆมาสอนให้เรารู้ถึงการทำกิจกรรมต่างๆที่เรามองข้าม