วันเสาร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 14


วัน พุธ ที่ 30 พฤศจิกายน พศ.2559
**เป็นการเรียนชดเชย**

เนื้อหาที่เรียน

- ในวันนี้อาจารย์มีการให้ส่งใบปั้มการมาเรียน และ แจกเมจิกพร้อมทั้งข้อสอบ ซึ่งในปีนี้เป็นหารสอบแบบ Take home หรือข้อสอบที่สามารถกลับไปทำที่บ้านได้ ซึ่งกำหนดส่งวันที่ 9 ธันวาคม พศ.2559 เวลา บ่ายโมงตรง ในตัวข้อสอบคือ ให้นักศึกษาคิดกิจกรรม STEM&STEAM ในหน่วยต่างๆที่แต่ละคนจะได้รับ เช่น หน่วยผีเสื้อ มะพร้าว ไก่ หอย เป็นต้น และนักศึกษาสามารถแลกกับเพื่อนได้  

- จากนั้นอาจารย์ให้ดูตารางเรียนของเทอม2 ว่าแต่ละกลุ่มมีเรียนอะไรบ้างและเป็นยังไง 


- ในตอนท้ายอาจารย์พูดถึงการตรวจBlogger และกำหนดส่ง ซึ่งคือวันที่ 14 ธันวาคม ก่อนเที่ยงคืน 

- และแจกรางวัลให้กับคนที่ในใบปั้มดีงามหรือมาเรียนครบ และปั้มตลอด 

การนำไปประยุกต์ใช้

- การเขียน STEM&STEAM ในกิจกรรมต่างๆหน่วยต่างๆที่จะสอนเด็ก 

การประเมิน

ประเมินตนเอง มาเรียนครบทุกคาบ มีการจดบันทึก
ประเมินบรรยากาศในห้องเรียน สนุกสนาน เพื่อนๆมาจากเซคอื่นๆอาจจะมีการไม่ค่อยมีการพูดคุย เงียบๆ แต่เวลาเรียนก็ให้ความร่วมมือกันเต็มที่
ประเมินผู้สอน สอนสนุก เป็นกันเอง แม้ในบางครั้งจะสั่งงานเยอะและยากไปหน่อยแต่อาจารย์ก็ให้คำปรึกษาอย่างใกล้ชิด





บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 13


วัน จันทร์ ที่ 21 พฤศจิกายน พศ.2559
(เวลา 08:30-12:30 น.)


เนื้อหาที่เรียน

ในวันนี้อาจารย์มีการเปลี่ยนแปลงการสอนแบบใหม่ คือ การให้นักศึกษายืนเป็นวงกลมและอาจารย์ร้องเพลงรำวงให้นักศึกษารำทุกคนไปรอบๆวง เมื่อท้ายเพลงอาจารย์บอกให้จับกลุ่ม 2 3 4 5 คน จนถึงได้กลุ่มละ 6 คน และนั่งลง จากนั้น อาจารย์ให้ช่วยกันคิดนิทานมา 1 เรื่อง 


โดยโจทย์คือให้สิ่งมีชีวิตสามารถพูดได้ ซึ่งนักศึกษาเลือกที่จะให้สัตว์สามารถพูดได้ จากนั้นให้แต่ละกลุ่มออกมาแสดงนิทานของตนเองพร้อมบอกข้อคิดจากนิทาน




เมื่อแสดงครบทุกกลุ่มแล้ว อาจารย์ให้จับกลุ่มใหม่อีกครั้งโดยให้ในแต่ละกลุ่มห้ามมีคนซ้ำจากกลุ่มเดิมหากมีซ้ำให้เปลี่ยนใหม่เพื่อปรับเปลี่ยนจากทำงานร่วมกับผู้อื่น


และในโจทย์ครั้งนี้คือให้แต่ละกลุ่มร้องเพลงและใช้อวัยวะส่วนต่างๆในร่างกายเป็นเครื่องดนตรีซึ้งห้ามซ้ำกับเพื่อนๆในห้อง เช่น ปรบมือ ตีตัก กระทืบเท้า ผิวปาก กระดกลิ้น ดีดนิ้ว ตีพื้น เป็นต้น


การนำไปประยุกต์ใช้ 

- การจัดกิจกรรมที่สร้างสรรค์และฝึกจินตนาการให้เด็กไม่จำเป็นต้องอยู่ในขอบเขตหรือสิ่งของเสมอไปทุกอย่างที่อยู่รอบตัวสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ทั้งหมดไม่ว่าจะเป็น ร่างกาย ของใช้ของเล่น ก็ใช้ได้เช่นกัน

การประเมิน

ประเมินตนเอง มีการจดบันทึก ในครั้งนี้ไม่ค่อยแสดงความคิดเห็นเท่าไร เนื่องจากไม่สบาย
ประเมินบรรยากาศในห้องเรยน  สนุกสนาน ร่วมกันแสดงความคิดเห็น
ประเมินผู้สอน  เป็นกันเอง เฮฮา สอนไม่เครียด ตรงต่อเวลามาก




วันเสาร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 12


วัน จันทร์ ที่ 14 พฤศจิกายน พศ.2559
(เวลา 08:30-12:30 น.)


เนื้อหาที่เรียน 

ในวันนี้อาจารย์ได้สอนทบทวนเรื่องกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ

- การเคลื่อนไหวและจังหวะแบบคำสั่ง
- การเคลื่อนไหวและจังหวะแบบคำบรรยาย
- การเคลื่อนไหวและจังหวะแบบประกอบเพลง
- การเคลื่อนไหวและจังหวะแบบความจำ
-การเคลื่อนไหวและจังหวะแบบตามจินตนาการ


จากนั้นอาจารย์ให้นักศึกษาจับกลุ่มกันเพื่อทดลองสอนการเคลื่อนไหวและจังหวะ ตามที่จับฉลากได้ตามกลุ่ม


อาจารย์มีการให้คำแนะนำอย่างใกล้ชิด 


การนำไปประยุกต์ใช้

- พัฒนาการสอนในรูปแบบใหม่และใช้ในอนาคต

การประเมิน

ประเมินตัวเอง มีการจดบันทึก ถ่ายภาพ ร่วมให้ความคิดเห็น
ประเมินบรรยากาศในห้องเรียน ร่วมกันแสดงความคิดเห็น 
ประเมินผู้สอน  มีการให้คำแนะนำอย่างใกล้ชิด


วันอาทิตย์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 11


วัน จันทร์ ที่ 7 พฤศจิกายน พศ.2559
( เวลา 08:30-12:30 น.)

เนื้อที่เรียน

1.  อาจารย์ให้นักศึกษานำเสนอสิ่งประดิษฐ์ของตนเอง 
มีทั้ง - โพโลโมแกรมภาพ 3 มิติ  - เตาอบป๊อบคอร์น - รถเคลื่อนด้วยยาง - เตาปิ้ง - โคมไฟจากช้อนพลาสติก - ที่ล้างจานจากลัง - เตาแก๊ส - หมวกจากกล่องนม - เครื่องคิดเงิน - ถังขยะจากขวดน้ำ - บัวรดน้ำ - กระเป๋าดินสอจากขวด - โต๊ะญี่ปุ่น - ชั้นวางของ - กระเป๋าจากกล่อง - เกมผูกเชือกรองเท้า - พรมเช็ดเท้า - ฝาชี - ตู้เย็น - เคสมือภือ 



2. อาจารย์ให้คิดโจทย์จากของที่เราทำมาและคำตอบเช่นกัน 
- หากผู้ยุ่งเราจะทำอย่างไรที่สามารถเก็บผมได้ 
3. อาจารย์ให้รวมกลุ่มทำงานตัวเลขที่เคยทำค้างไว้ เลข 0-9 หรือ 0-10 



การนำไปประยุกต์ใช้ 

- สามารถนำสื่อตัวนี้ไปสอนเด็กได้
- ในอนาคตหากเราหากของหรือไปซื้อไม่ทันสามารถนำของเหลือใช้มาใช้ได้

การประเมิน 

ประเมินตัวเอง  มีการช่วยเพื่อนและจดบันทึก
ประเมินบรรยาอากาศในห้องเรียน  การทำงานกลุ่มทำให้รู้จักนิสัยคนมากมายทำให้รู้ว่างานกลุ่มทำให้เรามีทั้งเพื่อนและเราเสียเพื่อนเพราะ บางคนเลือกที่จะช่วยกันทำงานเต็มที่แต่บางคนเลือกที่จะเอาเปรียบเพื่อนเต็มที่เช่นกัน....
ประเมินผู้สอน  อาจารย์สอนสนุก เป็นกันเอง


วันอังคารที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 10


วัน จันทร์ ที่ 31 ตุลาคม พศ. 2559 
( เวลา 08:30-12:30 น.)


เนื้อหาที่เรียน 

- บรูณาการในแต่ละครั้งไม่ได้บรูณาการแค่วิชาอย่างใดวิชาเดียวเพราะ เป้าหมายการจัดกิจกรรม คือ เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ให้เด็กเกิดการพัฒนาทั้ง 4 ด้าน ( ร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคม สติปัญญา)
 หลักการออกแบบกิจกรรม
  - ออกแบบให้เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก
  - ออกแบบให้รู้ถึงวิธีการเรียนรู้ของเด็กแต่ละคน
-  เด็กมีพัฒนาการที่เชื่องโยงทั้ง 4 ด้าน <<< กิจกรรมบรูณาการ >>> เพื่อให้เด็กเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทั้ง 4 ด้าน
- จากนั้นอาจารย์ให้แต่ละกลุ่ม ประดิษฐ์สิ่งของจากสิ่งที่จะได้ต่อไปนี้ ขวดน้ำ กระป๋อง กล่อง 
ซึ่งของห้ามซ้ำกันทั้งห้อง ฉันได้กระป๋อง 

โดยทำ ที่คาดผมจากฝาเปิดกระป๋อง 

การนำไปประยุกต์ใช้

- สามารถสอนเด็กประดิษฐ์สิ่งของจากวัสดุเหลือใช้ได้

การประเมิน 

ประเมินตัวเอง  มีการจดบันทึกแต่...ลืมถ่ายรูป
ประเมินบรรยากาศในห้องเรียน  สนุกสนานมีการช่วยกนคิดกันหาข้อมูล
ประเมินผู้สอน คอยแนะนำสิ่งต่างๆให้แก่นักศึกษา
 




บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 9


วัน จันทร์ ที่ 24 ตุลาคม พศ.2559
( เวลา 08:30-12:30 น.)



*** งดการเรียนการสอนเนื่องจากเป็นวันหยุดชดเชยปิยมหาราช ***


บันทึกการเรียนครั้งรู้ที่ 8


วัน จันทร์ ที่ 17 ตุลาคม พศ.2559
( เวลา 08:30-12:30 น.)


เนื้อหาที่เรียน 


ปัจจัยที่ทำให้เด็กเกิดความคิดสร้างสรรค์ได้คือ ครู

- อาจารย์เริ่มทบทวนบทเรียนเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว และพูดถึงความคิดสร้างสรรค์
การเรียนรู้ของเด็ก เท่ากับ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม  
" เด็กซน คือ เด็กฉลาดเพราะมีกาเรียนรู้ต่างๆเพื่อเก็บประสบการณ์"  และครูคือผู้อำนวยความสะดวกในการเสริมสร้างประสบการณ์ให้แก่เด็ก
- จากนั้นอาจารย์แจกกระดาษ A4 คนละ 1 แผ่น และให้จับกลุ่มกลุ่มละ 10 คนแต่ละคนแต่ละตัวเลขจะมี เลข 0-9 ซึ่งบางกลุ่มจะมี 0-10  ซึ่งฉันได้เลข 8 จากนั้น อาจารย์ให้นำเลขของแต่ละคนออกแบบเป็นอะไรก็ได้ตามใจเรา 

นาฬิกาทราย

จากนั้นให้แต่ละกลุ่มคิดว่าจะทำอะไรกับตัวเลขของแต่ละกลุ่มดี เช่น แต่งนิทาน เล่นเกม การจับคู่และจะให้เด็กมีส่วนร่วมอย่างไร 
ซึ่งกลุ่มฉันทำ การนับ เช่น เลข 4  ก็ให้เด็กนำไม้ไอศกรีมจำนวน 4 ไม้ มาต่อเป็นรูปสี่เหลี่ยมและมีเฉลย 

จากนั้นอาจารย์ให้ตัดตัวเลขลงกระดาษ100 ปอนด์ เพื่อรอทำงานที่คิดข้างต้น

การนำไปประยุกต์ 

- นอกจากตัวเลขแล้วเรายังสามารถใช้รูปเลขาคณิตได้ด้วย 

การประเมิน 


ประเมินตัวเอง ควรฝึกวาดรูปเยอะๆและควรวาดให้ดูออกด้วย
ประเมินบรรยากาศในห้องเรียน แอร์เย็น กิจกรรมวันนี้สนกมาก
ประเมินผู้สอน อาจารย์มีการช่วยแก้ปัญหาระดมความคิดกับนักศึกษา